วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

-วิชา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาและสารสนเทศ 2
-รหัสวิชา TN 8405
-ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
-สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
-(Technology Educational and Innovation)
-คณะครุศาสตร์
-มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
-อาจารย์นิเทศก์ อาจารย์มงคล ภวังคนันท์

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

สถานที่ฝึกงาน

ประวัติโรงพยาบาลราชบุรี
โรงพยาบาลราชบุรีเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 855 เตียง (ไม่รวม ICU 40 เตียง) ตั้งอยู่เลขที่ 85/1 ถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกห่างจากกรุงเทพมหานคร 100 กิโลเมตร แต่เดิมเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้นได้เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2484 นายแพทย์ทนง วิริยะชาติ เป็นผู้อำนวยการท่านแรก อาคารสถานที่ประกอบด้วยตึกอำนวยการ เรือนรับผู้ป่วย 25 เตียง บ้านพักแพทย์และโรงครัวอย่างละ 1 หลัง บุคลากรทำงานประจำประกอบด้วยแพทย์ 1 คน พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวม 8 คน ตลอดระยะเวลา 68 ปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลราชบุรีได้พัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันภายใต้การอำนวยการของนายแพทย์จินดา แอกทอง ได้รับการพัฒนาในทุกๆ ด้านรวมทั้งมีการพัฒนาระบบการให้บริการเชิงรุก ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนตามเป้าประสงค์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดราชบุรี สามารถตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเสริมสร้างสุขภาพประชาชนในทุกมิติ


โรงพยาบาลราชบุรีมีพันธกิจในการให้บริการรักษาพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูง (tertiary care) การกำหนดนโยบายงานและกิจกรรมเป็นไปอย่างมีระบบโดยคณะกรรมการต่างๆ แบ่งองค์กรเป็น 7 ฝ่ายและ 20 กลุ่มงานให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24 ชั่วโมง มีแพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำทำการนอกเวลาราชการครบทุกสาขาวิชา อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

วิสัยทัศน์
โรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำของภาคกลาง ภายในปี 2554

พันธกิจ
1. พัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพทุกระดับแบบองค์รวมอย่างมีคุณภาพ เพื่อประชาชนในเขตอำเภอเมืองราชบุรี
2. พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลราชบุรีให้สามารถบริการสุขภาพระดับตติยภูมิชั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อประชาชนในเขตสาธารณสุขที่รับผิดชอบ
3. ผลิตแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพ คุณธรรม สอดคล้องกับความต้องการของสังคม


ประเด็นยุทธศาสตร์
1. บริหารทรัพยากรของโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ
2. เพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ
3. พัฒนาบริการเพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีสุขภาพดี
4. เพิ่มคุณภาพของระบบงานมุ่งสู่มาตรฐานการบริการสุขภาพ
5. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน สามารถสร้างนวตกรรม และผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท

ค่านิยม
สามัคคี พัฒนา เมตตา เพื่อประชาชน

นโยบายพัฒนาคุณภาพ
1. พัฒนาบริการทุกมิติให้ผู้รับบริการพึงพอใจ เป็นแหล่งเรียนรู้ และต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน
2. พัฒนาการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส คุ้มค่า มีส่วนร่วม และตรวจสอบได้
3. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ มีสมรรถนะในการให้บริการที่มีคุณภาพ และมีความสุข
4. พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยกระบวนการการจัดการความรู้
5. พัฒนาระบบบริการให้มีความเป็นเลิศในการให้บริการตติยภูมิชั้นสูง ด้านอุบัติเหตุ และโรคหัวใจ
6. พัฒนาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง



ขอบเขตบริการ ให้บริการ
1. งานถ่ายภาพทางการแพทย์ ถ่ายภาพเพื่อเก็บรวบรวมศึกษาลักษณะ
Case ที่น่าสนใจหรือติดตามอาการเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบระยะเวลา
ที่ทำการรักษา หรือเพื่อนำลงพิมพ์ในวารสารเผยแพร่ทางวิชาการ รวมทั้ง
ถ่ายภาพกิจกรรมการบริการของหน่วยงานเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน
โดยให้บริการงานดังนี้
1.1 General Photography เป็นการถ่ายภาพกิจกรรมการให้บริการทาง
การแพทย์ และ สาธารณสุขที่ใช้เพียงความรู้ในการถ่ายภาพทั่วไป เท่านั้น
เช่น การถ่ายภาพการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การถ่ายภาพในชุมชน
1.2 Special Medical Photography เป็นการถ่ายภาพกิจกรรมทาง
การแพทย์ที่ต้องประยุกต์ความรู้ทางด้านการแพทย์ในการถ่ายทำ เช่น
การถ่ายภาพการผ่าตัดต่าง ๆ การถ่ายภาพผ่านอุปกรณ์ทางการแพทย์
การถ่ายฟิล์ม x-ray ฯลฯ
2. งานศิลปะ/ออกแบบกราฟฟิค การออกแบบภาพให้มีความสวยงามและถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะงานที่จะนำออกเผยแพร่ ให้สามารถสื่อความหมายต่อการเข้าใจได้ง่าย และน่าติดตาม เช่น โปสเตอร์ ป้ายผ้า ป้ายคัดเอ้าท์ ประดิษฐ์ตัวอักษรเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ รวมทั้งออกแบบและจัดทำเอกสาร วารสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ และการออกแบบเพื่อการจัดนิทรรศการ
3. งานนำเสนอและมัลติมีเดีย การผลิตสื่อนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์
อาทิ สื่อมัลติมีเดีย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รวมทั้งการออกแบบหน้าเว็บไซต์ ฯลฯ
4. งานโสตทัศนูปกรณ์ เป็นงานที่เกี่ยวกับการสรรหา การคัดเลือก
การเตรียมพร้อม โสตทัศนูปกรณ์ให้พอเพียงและเหมาะสมกับการใช้งาน
เพื่อการนำเสนอ หรือการบรรยายรวมทั้งควบคุมการใช้ การบำรุงรักษา
ที่ถูกต้อง รวมถึงการควบคุม ดูแลอุปกรณ์เครื่องเสียงในห้องประชุม
5. งานโทรทัศน์ทางการศึกษา โดยการจัดทำหรือช่วยจัดทำบทบรรยาย
การบันทึกเสียง การบันทึกเทปโทรทัศน์และตัดต่อวีดิทัศน์ การอัดสำเนา
รวมถึงการถ่ายทอดโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ข้อมูลข่าวสารวิชาการทางการแพทย์ และนันทนาการ

บุคลากร ปฏิบัติงานงานเวชนิทัศน์และโสตทัศนศึกษา
ประกอบด้วย
ช่างภาพการแพทย์ชำนาญการ 1 คน
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา 1 คน (ลูกจ้างชั่วคราว)
เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน 3 คน
เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาปฏิบัติงาน 1 คน
เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา 2 คน (ลูกจ้างชั่วคราว)
ช่างศิลป์ 1 คน (ลูกจ้างชั่วคราว)
รวม 9 คน



บุคลากรงานเวชนิทัศน์และโสตทัศนศึกษา
นายทวีป สาลีติด
เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
ปฎิบัติงานศิลปะ-ออกแบบ
นายประยุทธ นงค์นวล
ช่างภาพการแพทย์ชำนาญการ
หัวหน้างานเวชนิทัศน์และโสตทัศนศึกษา
นางสาวชุติมา โล่ห์อมรเวช
เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
ปฎิบัติงานถ่ายภาพทางการแพทย์ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกและงานธุรการ
นายปัญญา ชูฝา
เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
ปฎิบัติงานถ่ายภาพทางการแพทย์ และคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
นายกมล พิทักษ์เฉลิมวงศ์
ช่างศิลป์
ปฎิบัติงานโทรทัศน์ทางการศึกษา
นายสถิตย์ ศรีโสม
เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา
ปฎิบัติงานให้บริการโสตทัศนูปกรณ์
นายจีรพันธ์ ม่วงแดง
เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา
ปฎิบัติงานให้บริการโสตทัศนูปกรณ์
นางสาวเสาวรส พงษ์สำฤทธิ์
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
ปฎิบัติงานโทรทัศน์ทางการศึกษา
นางสาวชาลิณี สุวรรณโน
เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาปฏิบัติงาน
ปฎิบัติงานถ่ายภาพทางการแพทย์ และคอมพิวเตอร์กราฟฟิก



หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก

นายประยุทธ นงค์นวล ตำแหน่ง ช่างภาพการแพทย์ชำนาญการ
หัวหน้างานเวชนิทัศน์และโสตทัศนศึกษา
1. งานถ่ายภาพทางการแพทย์ ให้บริการถ่ายภาพทางการแพทย์และสาธารณสุข
ผู้รับผิดชอบ
นางสาวชุติมา โล่ห์อมรเวช ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวชาลิณี สุวรรณโน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาปฏิบัติงาน
2. งานศิลปะ/ออกแบบกราฟิค ให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการ
ผู้รับผิดชอบ
นายทวีป สาลีติด ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นายปัญญา ชูฝา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวชาลิณี สุวรรณโน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาปฏิบัติงาน
3. งานนำเสนอและมัลติมีเดีย ให้บริการสื่อนำเสนอ วีดิทัศน์ และมัลติมีเดีย
ผู้รับผิดชอบ
นายปัญญา ชูฝา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นายจีระพันธ์ ม่วงแดง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา
4. งานโทรทัศน์ทางการศึกษา ให้บริการผลิตสื่อทางการศึกษา
เผยแพร่และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์วงจรปิด
ผู้รับผิดชอบ
นายกมล พิทักษ์เฉลิมวงศ์ ตำแหน่ง ช่างศิลป์
5. งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ให้บริการสื่อโสตทัศนูปกรณ์
ผู้รับผิดชอบ
นายสถิตย์ ศรีโสม ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา
นายจีระพันธ์ ม่วงแดง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บันทึกเสียง
นางสาวเสาวรส พงษ์สำฤทธิ์ ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
6. งานธุรการและจัดเก็บพัสดุภัณฑ์ จัดหา จัดเก็บ
ผู้รับผิดชอบ
นางสาวชุติมา โล่ห์อมรเวช ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวเสาวรส พงษ์สำฤทธิ์ ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
นางสาวชาลิณี สุวรรณโน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาปฏิบัติงาน

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประวัติมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงตั้งอยู่เลขที่ ๔๖ หมู่ ๓ ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี


ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๗ เดิมมีชื่อว่า ”วิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง”(Chombueng Village Institute)

โดยก่อตั้งเป็นสถานศึกษาตามแนวคิด "วิทยาลัยหมู่บ้าน"ของประเทศตุรกีมีจุดมุ่งหมายในการก่อตั้ง ๔ ประการคือ

๑. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในชนบทที่ต้องการพัฒนา โดยคัดเลือกนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารเข้าศึกษาเป็นอันดับแรกเมื่อศึกษาสำเร็จแล้วให้กลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตน

๒. เพื่อปลูกฝังนักศึกษาครูให้รักอาชีพครูโดยผ่านการศึกษาเล่าเรียนและฝึกงานหลายแบบ เพื่อนำความรู้ความชำนาญไปลงมือปฏิบัติได้

๓. เพื่อให้นักศึกษาครูรู้จักปฏิบัติตนในการเข้าสังคมโดยอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตยคือการเคารพนับถือกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีสติ

๔. เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในท้องถิ่นใกล้เคียง ในระยะแรกวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดสอนหลักสูตร ๕ ปี โดยรับนักศึกษาทุนจากถิ่นทุรกันดารจากทั่วประเทศซึ่งสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ เข้าเรียนเมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา




ตุลาคม ๒๕๑๓

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงเป็นวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงและได้มีการรับนักศึกษาทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เข้าเรียนหลักสูตร ๒ ปี


เมื่อสำเร็จแล้วได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาอีกส่วนหนึ่งด้วย ในปีเดียวกันนี้วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงยังได้เริ่มเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงโดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาหรือเทียบเท่า เข้าเรียนหลักสูตร ๒ ปี




พ.ศ.๒๕๒๑

วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรีตามหลักสูตรสภาการฝึกหัดครูในระยะแรกได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ๒ ปี

โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงหรือเทียบเท่าเข้าเรียนในปีเดียวกันนั้นวิทยาลัยได้เริ่มเปิดสอนตามโครงการการศึกษาอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ(อคป.)

ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกันระหว่างกรมการฝึกหัดครูและหน่วยงานผู้ใช้ครู โดยมุ่งที่จะพัฒนาวิทยฐานะครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับการอบรมตามโครงการนี้จะได้รับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงและหลักสูตรปริญญาตรี ๒ ปี

อนึ่ง เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจส่งผลทำให้วิทยาลัยไม่สามารถที่จะรับนักศึกษาทุนในอัตราวงเงินเท่าเดิม (๒,๕๐๐ บาท/คน/ปี)ได้ ด้วยความเห็นชอบของกรมการฝึกหัดครูจึงได้เลิกรับนักศึกษาทุนในปีการศึกษา ๒๕๒๑ นั่นเอง





พ.ศ.๒๕๒๒

วิทยาลัยได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาทั้งนี้เพื่อสนองนโยบายของกรมการฝึกหัดครูและเนื่องจากความต้องการครูระดับนี้น้อยลง





พ.ศ.๒๕๒๓

วิทยาลัยได้เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร ๔ ปี ตามหลักสูตรของสภาการฝึกหัดครูโดยรับผู้สำเร็จขั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าเข้าเรียน เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต เช่นเดียวกับนักศึกษาระดับปริญญาตรีทั่วไป





พ.ศ.๒๕๒๖

วิทยาลัย ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการอาชีพตามหลักสูตรสภาการฝึกหัดครู พ.ศ. ๒๕๑๙ เพิ่มพ.ศ. ๒๕๒๕ โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าเรียนในภาคสมทบ เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง อย่างไรก็ตามวิทยาลัยเปิด สอนนักศึกษาภาคสมทบได้เพียงรุ่นเดียวก็มิได้เปิดอีก





พ.ศ.๒๕๒๗

วิทยาลัยได้เปิดสอนเทคนิคการอาชีพสำหรับนักศึกษาภาคปกติ ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงวิทยาลัยเปิด สอนหลักสูตรนี้เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น





พ.ศ.๒๕๒๘

วิทยาลัยได้เริ่มเปิดสอนระดับอนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์และทางศิลปศาสตร์ตามหลักสูตรของสภาการฝึกหัดครู พ.ศ.๒๕๒๘ โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าเรียน ๒ ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิอนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์หรืออนุปริญญาทางศิลปศาสตร์ในปีเดียวกันนี้วิทยาลัยได้ปฏิบัติตามนโยบายของกรมการฝึกหัดครูคืองดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงและงดสอนตามโครงการ อคป.และได้เริ่มเปิดสอนตามโครงการการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ(กศ.บป.)





พ.ศ.๒๕๓๐

ได้ขยายการเปิดสอนสาขาวิชาการอื่นจากระดับอนุปริญญาไปจนถึงระดับปริญญาตรี สำหรับสายวิชาชีพครูก็ยังคงเปิดสอนตามปกติ




พ.ศ.๒๕๓๑-พ.ศ.๒๕๓๔

วิทยาลัยได้ ปฏิบัติตามนโยบายของกรมการฝึกหัดครู เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศคือการลดปริมาณการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาสายวิชาชีพครูลง

และเพิ่มปริมาณการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาและนักศึกษาระดับอนุปริญญาสาขาวิชาการอื่นให้มากขึ้นในหลายๆสาขาวิชา

พ.ศ.๒๕๒๘ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้รวมกลุ่มกับวิทยาลัยครูภาคตะวันตก ๔ แห่งได้แก่ วิทยาลัยครูเพชรบุรี วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง วิทยาลัยครูกาญจนบุรี วิทยาลัยครูนครปฐมและเรียกการรวมตัวครั้งนี้ว่า "สหวิทยาลัยทวารวดี"

ปีการศึกษา๒๕๓๐ วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดสอนนักศึกษาโครงการคุรุทายาทซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติกับกรมการฝึกหัดครู ให้เรียนในระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัยและโปรแกรมวิชาการประถมศึกษา

ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๒๔ กรมสามัญได้เข้าร่วมโครงการนี้วิทยาลัยได้รับการคัดเลือกให้สอนนักศึกษาคุรุทายาทสายมัธยมศึกษา โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ เกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมศิลป์(สาขาก่อสร้างและอิเล็คทรอนิกส์)






ปีการศึกษา ๒๕๓๕

ได้ เปิดสอนนักศึกษาคุรุฑายาทสายประถมศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปและสายมัธยมศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีการผลิตบัณฑิตในช่วงปี ๒๕๓๕ - ๒๕๓๙ ได้วางแผนให้สอดคล้องกับนโยบายในแผนการพัฒนาการศึกษาระยะที่ ๗ ในกรอบและทิศทางของกรมการฝึกหัดครูที่เน้นให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

โดยผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นสัดส่วน ๔๐: ๓๐:๓๐ ตามลำดับ

เนื่องจากปัจจุบันวิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ ได้แก่ครุศาสตร์บัณฑิต วิทยาศาสตร์บัณฑิตและศิลปศาสตร์บัณฑิต แต่บุคคลทั่วไปยังเข้าใจผิดว่าที่จบจากวิทยาลัยครูต้องประกอบอาชีพครูเท่านั้น

ทำให้ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาอื่น ขาดโอกาสในการหางานทำและในบางครั้งเกิดความเข้าใจผิดคิดว่า“วิทยาลัยครู” มิได้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องและเกิดประโยชน์แก่นักศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” แก่วิทยาลัยครูเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕

และเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ สภาผู้แทนราษฎร์ได้ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏและวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๗

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๘ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกาโดยนายชวน หลีกภัยนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการและมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘


ปีการศึกษา ๒๕๓๙ และ ๒๕๔๐

สภาประจำ สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรในท้องถิ่นได้ร่วมกันร่างคำปณิธานของมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นปรัชญาและแนวทางในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

ปีการศึกษา ๒๕๔๒

และข้าราชการของมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันจัดทำแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาประจำมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแผนและเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะ ๔ ปี (พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖)



ปีการศึกษา ๒๕๔๗

พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗ ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑ ตอนที่พิเศษ ๒๓ก เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ มีผลให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งแต่วันที่๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงจึงมีชื่อใหม่เป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ตามพระราชบัญญัตินั้นเป็นต้นมา

ที่มา http://www.mcru.ac.th/m_about.php?action=history

po